Online  ระเบียบปฏิบัติต่างๆ  :: การทำบัญชีบาลีสนามหลวง
การทำบัญชีบาลีสนามหลวง :: Back :: :: Next ::
การทำบัญชีบาลีสนามหลวง

         ๑. บัญชี ศ. ๒ และ ศ. ๓ (บัญชีรายชื่อผู้ขอเข้าสอบความรู้ประโยคบาลีและบัญชีเรียกชื่อนักเรียนเข้าสอบความรู้ประโยคบาลี) ให้เจ้าสำนักเรียน ส่วนกลาง และเจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัดส่วนภูมิภาค ขอเบิกไปที่สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยประมาณให้พอใช้แต่ละปี อย่าใช้กระดาษอื่น เช่น กระดาษฟุลสแก็ป เป็นต้น
         ๒. สำนักเรียนส่วนกลาง และสำนักเรียนคณะจังหวัดเฉพาะที่สอบส่วนกลาง ไม่ต้องทำบัญชี ศ. ๓ ส่งไป
         ๓. สำนักเรียนคณะจังหวัดที่สอบในส่วนภูมิภาค ต้องทำบัญชี
ศ. ๓ เอง ถ้าสอบรวมกันหลายจังหวัด ให้จังหวัดที่เป็นสนามสอบเรียงเลขที่ไว้หน้า ส่วนจังหวัดที่มาสมทบสอบเรียงเลขที่ต่อไป และการทำบัญชี ศ. ๓ นั้น ต้องเรียงชื่อนักเรียนให้ตรงกับบัญชี ศ. ๒ ที่ได้ส่งไปยังเจ้าคณะภาคแล้วนั้น ห้ามส่งนักเรียนที่มิได้สมัครขอเข้าสอบแทนที่นักเรียนที่ขาดสอบ และจะส่ง เพิ่มเติมอีกไม่ได้
         ๔. การทำบัญชี ศ. ๒ และ ศ. ๓ ให้พิมพ์แผ่นละหน้าเดียว
         ๕. กำหนดส่งบัญชี ศ. ๒ สำนักเรียนส่วนกลาง ส่งถึงสำนักงาน
พระพุทธศาสนาแห่งชาติหรือกองบาลีสนามหลวงโดยตรงก่อนสิ้นเดือนอ้าย สำนักเรียนคณะจังหวัดส่วนภูมิภาค ควรส่งถึงเจ้าคณะภาคก่อนกลางเดือนอ้าย และเจ้าคณะภาครวบรวมส่งถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติหรือกองบาลีสนามหลวงก่อนสิ้นเดือนอ้ายเช่นเดียวกัน
         ๖. เจ้าสำนักเรียนจะต้องตรวจดูหลักฐานของนักเรียนผู้สมัครขอเข้าสอบคือประกาศนียบัตร หรือบัญชีรายชื่อผู้สอบประโยคบาลีได้ ที่ทางสนามหลวงแผนกบาลีส่งมาถวายให้เก็บไว้เป็นหลักฐานทุกปีแล้วนั้น การทำบัญชี ศ. ๒ ในช่องประโยคเดิม ต้องลงหมายเลขประกาศนียบัตร และ พ.ศ. ที่สอบได้ของ นักเรียนให้แน่ชัดทุกรูป ตัวอย่าง เช่น นักเรียนสอบประโยค ๑ - ๒ ได้ พ.ศ. ๒๕๒๔ วัดกลาง จังหวัดบุรีรัมย์ สมัครขอเข้าสอบความรู้บาลีประโยค ป.ธ. ๓ ต้องลงบัญชี ดังนี้

         ๗. การทำบัญชี ศ. ๒ ในช่องประโยคเดิม สำนักเรียนส่วนกลางให้ใช้ คำว่า “สำนักเรียน” เช่น สำนักเรียนวัดชนะสงคราม, จังหวัดส่วนภูมิภาคให้ใช้คำว่า “คณะจังหวัด” เช่น คณะจังหวัดเชียงใหม่
:: Home ::